วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ดอกไม้ติดผม




ประวัติความเป็นมา

การไปวัดในสมัยก่อน ในวันบุญใหญ่คนสมัยนั้นจะนำดอกไม้นานาชนิดที่ปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน ธูป เทียน ใส่สวย(กรวย) ที่ทำมาจากใบตองใส่สลุงเงิน(ขันเงิน)ไปวัด ผู้หญิงล้านนาที่ไว้ผมยาวจะเกล้ามวยผมให้สวยงามและจะนำดอกไม้มาติดกับมวยผมตอนไปวัด ในการติดดอกไม้ไปวัดนั้นเชื่อว่าเพื่อเป็นการบูชาหัวและเพื่อเวลาก้มหัวจะเป็นการบูชาพระเจ้า หรือเรียกว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่อง"ขวัญ" ของคนในกลุ่มชาวไต-ลาว ที่เชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 32 ขวัญ การประดับดอกไม้จึงเป็นการบูชาขวัญบนกระหม่อม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว การติดดอกไม้ไหวนั้นสมัยก่อนนิยมใช้ดอกไม้สดหรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม อธิเช่น ดอกสะบันงา, ดอกเอื้องแซะ, ดอกพุทธหลวง, ดอกมะลิ, เป็นต้น ซึ่งในอดีตเป็นดอกไม้หายาก แต่เนื่องจากมีกลิ่นหอม สาวๆ จึงนิยมหามาประดับมวยผม ขณะที่เอื้องผึ้งมักใช้ประดับเมื่อมีการฟ้อนและใช้บูชาผีปู่ย่า ส่วนเอื้องแซะที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มักใช้เป็นเครื่องบรรณาการแด่กษัตริย์
          การมวยผมปักปิ่นเป็นเอกลักษณ์การแต่งการแบบล้านนา ปิ่นปักผม การใช้ปิ่นปักผมมีประโยชน์ทั้งใช้เพื่อขัดผมให้อยู่ทรง หรือใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามให้มวยผม วัสดุที่นำมาทำปิ่นก็มีแตกต่างกันไป เช่น ปิ่นเงิน ปิ่นทองคำ ปิ่นทองเหลือง ปิ่นที่ทำจากเขา-กระดูกสัตว์ ปิ่นปักผม มีลักษณะแตกต่างกันออกไปแสดงถึงลักษณะการแต่งกายของในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ปิ่นที่แม่แจ่ม ทำเป็นช่อชั้นคล้ายเจดีย์ ซึ่งปิ่นโบราณที่พบในล้านนาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ นอกจากนี้ยัง มีปิ่นที่ทำเป็นรูปร่ม ได้แก่ ปิ่นจ้องของชาวไทลื้อ หรือไทเขินในเชียงตุง
การปักปิ่นการเลือกปิ่นนั้นสะท้อนให้เห็นถึงกาลเทศะทางสังคมอย่างเช่น การติดดอกไม้ไหวไปวัดกับการติดดอกไม้ไหวของช่างฟ้อนในการติดดอกไม้ไหวไปวัดนั้นดอกไม้ที่นำมาจะเป็นดอกไม้หอมสีเรียบๆ และใช้เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ส่วนดอกไม้ที่ติดผมช่างฟ้อนจะเป็นแบบใดก็ได้ติดเพื่อประดับตกแต่งพิ่มความสวยงามให้มวยผม
การประดับมวยด้วยปิ่น ดอกไม้ไหว ซึ่งทำจากโลหะมีค่า เช่น เงิน ทอง อัญมณี นั้นบ่งบอกถึงฐานะของผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้านายหรือผู้ที่มีฐานะพอสมควร ปิ่นปักผมนั้น คนเหนือเดิมเรียกว่า หย่อง เวลาใช้จะมีสายเชือกมัดปลายผมแล้วเสียบตัวปิ่นเข้าไปในมวยผม ปิ่นดอกไม้ไหวแบบโลหะนั้นไม่ได้มีมาตั้งแต่ยุคแรกแต่พึ่งมีมาทำเมื่อยุคหลังน่าจะเป็นของอินโดฯ บาหลีมีเล่าว่าพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่5 ในครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จประพาสชะวา ปัจจุบันดอกไม้ไหวนิยมใช้ประดับในการแสดงต่างๆมากกกว่าการที่จะติดดอกไม้ไหวไปวัด ดอกไม้ไหวโลหะมีหลายแบบแต่ที่นิยมมักจะทำดอกที่เป็นช่อ เช่น ช่องดอกเอื้อง เป็นต้น
ดอกไม้ไหว คือ ดอกไม้ที่ทําจากแผ่นโลหะหรือแผ่นทองเหลืองนํามาติดกับเส้นลวดที่ขดเป็นสปริง ทําให้ดอกไม้ เคลื่อนไหวตามแรงสั่นหรือเคลื่อนไหวจึง เรียกวว่าดอกไม้ไหว ดอกไม้ไหวในอดีตใช้สําหรับประดับมวยผม หรือขณะโพกผม จะใช้เฉพาะผู้สูงศักดิ์สําหรับชาวบ้านธรรมดาจะใช้ดอกไม้ในการประดับมวยผมแต่สําหรับหญิงที่เป็นช่างฟ้อนเล็บก็จะนํามาประดับมวยผมในวันฟ้อนเล็บด้วยแต่ปัจจุบันนอกจากจะใช้ประดับมวยผมแล้วยังใช้ประดับประดาอาคารบ้านเรือนโดยการนําไปใส่แจกันตั้งโต๊ะหรือแจกันแขวนผนังอีกด้วย


                       ขั้นตอนวิธีทำดอกไมไหว


1.)     นำแผนอลูมิเนียมหรือแผนทองเหลืองมาตัดเปนรูปดอกไมขนาดเล็ก ๆ


2.)     นํากลีบดอกที่ตัดแล้วมาแกะเป็นลวดลายลงบนกลีบดอกไม




3.)     นําเสนลวดมาพันเปนขดสปริง


 

4.)     นํากลีบดอกไมมาติดที่ก้านสปริงทําหลายๆ ชอเล็ก



5.)     นํามาประกอบเปนชอใหญ



แหล่งที่มา

เจ้านางละอองคำ .(๒๕๕๖). การแต่งกายของแม่หญิงล้านนาที่ถูกต้อง.ค้นเมื่อ๓ กรกฏาคม ๒๕๕๖. จาก. http://board.postjung.com/572637.html 

วิลักษณ์  ศรีป่าซาง.ครัวหย้องของงามแม่ญิงล้านนา. พิมพ์ครั้งที่1: จังหวัดเชียงใหม่.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547

วิหกพลัดถิ่น.(๒๕๕๖).ปู่จาหัว ยะจะได๋ ผ่อกันเน้อ.....ไป๋แอ่วบ้านสาว โตยป้อครูแอ๊ด ภาณุทัต.ค้นเมื่อ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖.จาก.http://www.oknation.net/blog/print.php?id=129108.  



ดอกไม้ติดผม




ประวัติความเป็นมา

การไปวัดในสมัยก่อน ในวันบุญใหญ่คนสมัยนั้นจะนำดอกไม้นานาชนิดที่ปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน ธูป เทียน ใส่สวย(กรวย) ที่ทำมาจากใบตองใส่สลุงเงิน(ขันเงิน)ไปวัด ผู้หญิงล้านนาที่ไว้ผมยาวจะเกล้ามวยผมให้สวยงามและจะนำดอกไม้มาติดกับมวยผมตอนไปวัด ในการติดดอกไม้ไปวัดนั้นเชื่อว่าเพื่อเป็นการบูชาหัวและเพื่อเวลาก้มหัวจะเป็นการบูชาพระเจ้า หรือเรียกว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่อง"ขวัญ" ของคนในกลุ่มชาวไต-ลาว ที่เชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 32 ขวัญ การประดับดอกไม้จึงเป็นการบูชาขวัญบนกระหม่อม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว การติดดอกไม้ไหวนั้นสมัยก่อนนิยมใช้ดอกไม้สดหรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม อธิเช่น ดอกสะบันงา, ดอกเอื้องแซะ, ดอกพุทธหลวง, ดอกมะลิ, เป็นต้น ซึ่งในอดีตเป็นดอกไม้หายาก แต่เนื่องจากมีกลิ่นหอม สาวๆ จึงนิยมหามาประดับมวยผม ขณะที่เอื้องผึ้งมักใช้ประดับเมื่อมีการฟ้อนและใช้บูชาผีปู่ย่า ส่วนเอื้องแซะที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มักใช้เป็นเครื่องบรรณาการแด่กษัตริย์
          การมวยผมปักปิ่นเป็นเอกลักษณ์การแต่งการแบบล้านนา ปิ่นปักผมการใช้ปิ่นปักผมมีประโยชน์ทั้งใช้เพื่อขัดผมให้อยู่ทรง หรือใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อเพิ่มความสวยงามให้มวยผม วัสดุที่นำมาทำปิ่นก็มีแตกต่างกันไป เช่น ปิ่นเงิน ปิ่นทองคำ ปิ่นทองเหลือง ปิ่นที่ทำจากเขา-กระดูกสัตว์ ปิ่นปักผมมีลักษณะแตกต่างกันออกไปแสดงถึงลักษณะการแต่งกายของในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ปิ่นที่แม่แจ่มทำเป็นช่อชั้นคล้ายเจดีย์ ซึ่งปิ่นโบราณที่พบในล้านนาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ นอกจากนี้ยัง มีปิ่นที่ทำเป็นรูปร่ม ได้แก่ ปิ่นจ้องของชาวไทลื้อ หรือไทเขินในเชียงตุง
การปักปิ่นการเลือกปิ่นนั้นสะท้อนให้เห็นถึงกาลเทศะทางสังคมอย่างเช่น การติดดอกไม้ไหวไปวัดกับการติดดอกไม้ไหวของช่างฟ้อนในการติดดอกไม้ไหวไปวัดนั้นดอกไม้ที่นำมาจะเป็นดอกไม้หอมสีเรียบๆ และใช้เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ส่วนดอกไม้ที่ติดผมช่างฟ้อนจะเป็นแบบใดก็ได้ติดเพื่อประดับตกแต่งพิ่มความสวยงามให้มวยผม
การประดับมวยด้วยปิ่น ดอกไม้ไหว ซึ่งทำจากโลหะมีค่า เช่น เงิน ทอง อัญมณี นั้นบ่งบอกถึงฐานะของผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้านายหรือผู้ที่มีฐานะพอสมควร ปิ่นปักผมนั้น คนเหนือเดิมเรียกว่า หย่องเวลาใช้จะมีสายเชือกมัดปลายผมแล้วเสียบตัวปิ่นเข้าไปในมวยผม ปิ่นดอกไม้ไหวแบบโลหะนั้นไม่ได้มีมาตั้งแต่ยุคแรกแต่พึ่งมีมาทำเมื่อยุคหลังน่าจะเป็นของอินโดฯ บาหลีมีเล่าว่าพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่5 ในครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จประพาสชะวา ปัจจุบันดอกไม้ไหวนิยมใช้ประดับในการแสดงต่างๆมากกกว่าการที่จะติดดอกไม้ไหวไปวัด ดอกไม้ไหวโลหะมีหลายแบบแต่ที่นิยมมักจะทำดอกที่เป็นช่อ เช่น ช่องดอกเอื้อง เป็นต้น
ดอกไมไหว คือ ดอกไม้ที่ทําจากแผนอลูมิเนียมหรือแผนทองเหลืองนํามาติดกับเสนลวดที่ขดเปนสปริง ทําใหดอกไม เคลื่อนไหวตามแรงสั่นหรือเคลื่อนไหวจึง เรียกวาดอกไมไหว ดอกไมไหวในอดีตใชสําหรับประดับมวยผม หรือขณะโพกผม จะใชเฉพาะผูสูงศักดิ์สําหรับชาวบ้านธรรมดาจะใชดอกไมในการประดับมวยผมแต สําหรับหญิงที่เปนชางฟอนเล็บก็จะนํามาประดับมวยผมในวันฟอนเล็บด้วยแตปจจุบันนอกจากจะใชประดับมวยผมแล้วยังใชประดับประดาอาคารบ านเรือน โดยการนําไปใส แจกันตั้งโตะหรือแจกันแขวนผนังอีกด้วย

                      ขั้นตอนวิธีทำดอกไมไหว


1.)     นำแผนอลูมิเนียมหรือแผนทองเหลืองมาตัดเปนรูปดอกไมขนาดเล็ก ๆ




2.)     นํากลีบดอกที่ตัดแล้วมาแกะเป็นลวดลายลงบนกลีบดอกไม




3.)     นําเสนลวดมาพันเปนขดสปริง


 

4.)     นํากลีบดอกไมมาติดที่ก้านสปริงทําหลายๆ ชอเล็ก



5.)     นํามาประกอบเปนชอใหญ



แหล่งที่มา

เจ้านางละอองคำ .(๒๕๕๖). การแต่งกายของแม่หญิงล้านนาที่ถูกต้อง.ค้นเมื่อ๓ กรกฏาคม ๒๕๕๖. จาก. http://board.postjung.com/572637.html 

วิลักษณ์  ศรีป่าซาง.ครัวหย้องของงามแม่ญิงล้านนา. พิมพ์ครั้งที่1: จังหวัดเชียงใหม่.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547

วิหกพลัดถิ่น.(๒๕๕๖).ปู่จาหัว ยะจะได๋ ผ่อกันเน้อ.....ไป๋แอ่วบ้านสาว โตยป้อครูแอ๊ด ภาณุทัต.ค้นเมื่อ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖.จาก.http://www.oknation.net/blog/print.php?id=129108.